EBG EDUCATIONCOM By AKE.ONS

เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับการใช้งานเว็บไซต์นี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
On the road again
This slideshow uses a JQuery script adapted from Pixedelic

 

ในวัยเด็กหลาย ๆ คนคงมีความสุขสนุกสนานกับการได้เล่นของนานาชนิด หลายชิ้นก็เล่นจนติด เล่นได้ทั้งวัน ของเล่นยอดฮิตตลอดกาลของเด็กชายชิ้นหนึ่งคือ รถบังคับแบบใช้สาย กดดินหน้า กดถอยหลัง กดให้วิ่งไปทางซ้าย ไปทางขวา แค่เห็นรถวิ่งไปมาได้ก็มีความสุขสนุกสนานแล้ว ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าเล่นแล้วจะได้อะไร แค่สนุกก็พอแล้ว

l_article_sm65_cover_set_3_0026_layer_1.jpg-270x190.jpg

รถบังคับทำงานอย่างไร

            ส่วนประกอบของรถบังคับแบบใช้สายก็ไม่มีอะไรมาก มีแค่ มอเตอร์ ฟันเฟืองทดรอบ แบตเตอรี่ ล้อ ปุ่มกดสำหรับบังคับ เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ทั้งหมดประกอบเข้าด้วยกัน โดยอาศัยหลักการทางไฟฟ้าอย่างง่ายไม่ชับช้อน จากรูป เมื่อกดสวิตช์ตัวบน มอเตอร์ตัวบนจะหมุน เมื่อกดสวิตช์ตัวล่างมอเตอร์ตัวล่างจะหมุน ถ้ากดสวิตช์สองตัวพร้อมกันมอเตอร์ก็จะหมุนพร้อมกัน แต่หมุนในทิศทางที่ตรงข้ามกัน ด้วยหลักการดังกล่าว เราก็สามารถสร้างรถบังคับแบบใช้สายอย่างง่ายได้แล้ว

 robot 01

เปลี่ยนรถบังคับให้เป็นหุ่นยนต์

            หุ่นยนต์ หรือ โรบอท (robot) คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยมนุษย์เป็นผู้ควบคุมและทำงานแบบอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นสำหรับงานที่มีความยากลำบากแทนมนุษย์ จากคำนิยามเราสามารถกดสวิตช์ให้รถเดินหน้า เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เพื่อให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เราต้องการได้เช่นกันดังนั้นจากความหมายข้างตัน ถ้ากำหนดงานที่ชัดเจนให้กับรถบังคับ เราก็สามารถเรียกได้ว่า รถบังคับก็ทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ ประเภทหนึ่งได้เหมือนกัน

 robot 02

วงจรหุ่นยนต์บังคับมืออย่างง่าย

            จากวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายของรถบังคับแบบใช้สายฃเราสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมวงจรไฟฟ้าอีกเล็กน้อย ก็จะได้วงจรหุ่นยนต์บังคับมือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น บังคับให้เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวช้าย เลี้ยวขวา รวมถึงถอยหลังและเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาได้คล่องตัว และรองรับการควบคุมได้ดีขึ้น

            ข้อควรระวัง เนื่องจากวงจรออกแบบให้ประกอบได้ง่ายจึงไม่มีระบบป้องกันการลัดวงจร ระหว่างควบคุมควรระวังอย่ากดปุ่มพร้อมกันมากกว่า 2 ปุ่ม จะทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้นได้ จะทำให้แบตเตอรี่ร้อนและอายุการใช้งานสั้นลง

robot 03

            ส่วนควบคุมจะประกอบไปด้วยแบตเตอรี่ และสวิตช์ควบคุม ส่วนขับเคลื่อนจะมีเพียงมอเตอร์ที่ทดรอบให้มีความเร็วต่ำเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม ทั้งสองส่วนจะเชื่อมโยงถึงกันด้วยสายฟขนาดเล็กจำนวน 3 เส้นและควรมีความยาวอย่างน้อย 2 เมตร

หุ่นยนต์ต้องมีหน้าที่

            รถบังคับจะเป็นหุ่นยนต์ได้จะต้องมีการกำหนดภารกิจหน้าที่ให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้เป็นหุ่นยนต์บังคับมือที่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  ถ้าต้องการหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายสิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยที่สิ่งของที่หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนย้ายมีรูปทรงกระบอก ถึงตอนนี้ผู้พัฒนาหุ่นยนต์จะต้องวิคราะห์งานที่ได้รับมอบหมายและออกแบบโครงสร้างของหุ่นยนต์ให้หมาะสมกับงนที่ได้รับ ซึ่งอาจจะมี มือคีบจับยึดสิ่งของ หรือตะขอเกี่ยวแล้วแต่การออกแบบ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา

จะให้สนุกต้องแข่งขัน

            การแข่งขันเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน ตัวอย่างกติกาการแข่งขัน เช่น กำหนดให้หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายสิ่งของให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด หรือให้เคลื่อนย้ายสิ่งของจากพื้นที่ของทีมตรงข้ามมาไว้ในพื้นที่ของตนให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด เมื่อมีการแข่ง ทีมที่เข้าร่วมการแข่งชันจะทราบกติกา เห็นสนาม เห็นสิ่งของที่เป็นภารกิจ ทีมก็จะต้องวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ ให้เหมาะกับกติกาและวางแผนการแข่งเพื่อนำไปสู่ชัยชนะต่อไป

robot 04

            จากภาพเมื่อทุกคนทราบกติกาการแข่งขัน แต่ละทีมเริ่มวิเคราะห์ปัญหา สิ่งที่หุ่นยนต์ที่ต้องทำ แบ่งหน้าที่ของผู้ร่วมทีมวางแผนการเล่น รวมไปถึงการเลือกวัสดุที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ ซึ่งอาจเป็นวัสดุเหลือใช้ทั่วไป และสุดท้ายต้องสามารถนำเสนอแนวคิดในการออกแบบหุ่นยนต์ได้

เล่นไปแล้วได้อะไร

            สุดท้ายจะเห็นได้ว่า จากของเล่นที่เราเล่นกันอย่างสนุกสนานในวัยเด็ก ก็สามารถนำมาเป็นสื่อช่วยในการเรียนการสอนซึ่งจะช่วยให้พัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังทำให้รู้จักนำความรู้ในชั้นเรียนมาประยุกใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

หุ่นยนต์บังคับมือ. สืบคันเมื่อ 5 มกราคม 2558, จาก http://oho.ipst.ac.th

  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวกิจกรรม

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:50

โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ กำหนดการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ.2566 ขอให้นักเรียนทบทวนหนังสือเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสอบในปีการศึกษานี้นะครับ

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:50

โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ กำหนดการปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 ถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566

วันเสาร์, 11 มีนาคม 2566 23:27

วันที่ 3 มีนาคม 2566 โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้กับคณะครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปท.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคูคตโดยได้รับเกียรติจาก รองปลัดเทศบาล นางกรณ์ญรัศมิ์ วรรณสังข์ เป็นประธานในการเปิดงาน และได้รับความอนุเคราะห์ คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลลำลูกกา

นายเอกลักษณ์  อ่อนสำลี

ครูประจำวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(วิทยาการคำนวณ)

วิทยาการคำนวณ (ประถมต้น)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (ประถมต้น)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

วิทยาการคำนวณ (มัธยมต้น)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (มัธยมต้น)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

ตรวจสอบคะแนน

กดที่นี่เพื่อตรวจสอบผลการเรียน / ภาระงาน

วิทยาการคำนวณ (ประถมปลาย)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (ประถมปลาย)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

วิทยาการคำนวณ (มัธยมปลาย)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (มัธยมปลาย)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ห้องกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

คลิกที่นี่เพื่อให้สู่ห้องกิจกรรม

กลุ่มงานอบรม

ห้องรวมกลุ่ม งานอบรม/ประชุม ฯลฯ

คลิกที่นี่เพื่อเข้าห้องงานอบรม/ประชุม

ห้องพักครู

ห้องพักครู : รวบรวมงาน / โครงการ / กิจกรรม

คลิกที่นี่เข้าห้องพักครู

ตารางงานกิจกรรม

ตารางงาน/กิจกรรม/ประชุม/อบรม

รายละเอียด

||    ABOUT COMPUTATIONAL SCIENCE   ||

วิทยาการคำนวณ

CodingThailand by GritConnect

การเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์

ทำไมต้องเรียน?

วิทยาการคำนวณ

ทักษะการสื่อสาร

การทำงานร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการแก้ไขปัญหา

ความคิดสร้างสรรค์

 

วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy)

แหล่งเรียนรู้วิทยาการคำนวณ

||   แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน   ||

แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน

เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ข้อมูล แหล่งเรียนรู้ ข่าวสาร

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:33

 

ในวัยเด็กหลาย ๆ คนคงมีความสุขสนุกสนานกับการได้เล่นของนานาชนิด หลายชิ้นก็เล่นจนติด เล่นได้ทั้งวัน ของเล่นยอดฮิตตลอดกาลของเด็กชายชิ้นหนึ่งคือ รถบังคับแบบใช้สาย กดดินหน้า กดถอยหลัง กดให้วิ่งไปทางซ้าย ไปทางขวา แค่เห็นรถวิ่งไปมาได้ก็มีความสุขสนุกสนานแล้ว ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าเล่นแล้วจะได้อะไร แค่สนุกก็พอแล้ว

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:23

 กรมทรัพย์สินทางปัญญาไขข้อข้องใจกฎหมายลิสิทธิ์ เปิดคำถาม คำตอบ 10 ข้ออะไรทำได้ ะไรทำไมได้ หวังสกัดความปั่นป่วนในโลกโซเชียล หลังทั้งโพสต์ทั้งแชร์กระหน่ำ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยเป็นโอกาสดีที่ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจในเรื่องลิขสิทธิ์

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:13

 ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

||   ให้ครูช่วยอะไรไหม !?  ||

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งให้ครูทราบ