EBG EDUCATIONCOM By AKE.ONS

เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด การใช้เว็บไซต์นี้ต่อไปแสดงว่าคุณยอมรับการใช้งานเว็บไซต์นี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
On the road again
This slideshow uses a JQuery script adapted from Pixedelic

 กรมทรัพย์สินทางปัญญาไขข้อข้องใจกฎหมายลิสิทธิ์ เปิดคำถาม คำตอบ 10 ข้ออะไรทำได้ ะไรทำไมได้ หวังสกัดความปั่นป่วนในโลกโซเชียล หลังทั้งโพสต์ทั้งแชร์กระหน่ำ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยเป็นโอกาสดีที่ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจในเรื่องลิขสิทธิ์

 l_article_sm65_cover_set_3_0005_layer_22.jpg-270x190.jpg

DIP 01

โดย 10 คำถาม คำตอบ มีรายละเอียดดังนี้

1. ลิขสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง มีอะไรที่เราสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือไม่

            ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ เช่น บทความหนังสือชอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าวภาพยนตร์ ละคร แต้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งข่าวประจำวันทั่วไปในส่วนของข้อเท็จจริงที่รายงานเพียงแค่ว่า ใคร ทำอะไรที่ไหน อย่างไร ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์  เราจึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

2. เราสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนได้ไหม

            การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรีก็สามารถดาวน์โหลดได้แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ส่วนกรณีเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้วจึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้เช่นกัน

3. การสำเนา บทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่เฟซบุ๊กของเราหรือแชร์ต่อทางไลน์ ทำได้หรือไม่

            บทความหรือรูปภาพเป็นงานลิขสิทธิ์ การนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการสำเนา หรือแชร์ต่อ ควรพิจารณาประกอบกับเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาของเว็บไซต์นั้น ๆ ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อย เช่น 1 ถึง 2 ภาพที่ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) อย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไรโดยมีการแสดงที่มาของบทความหรือรูปภาพ ก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (fair use) ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

4. การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

            การนำงานมาใช้และเผยแพร่ ต้องอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตเสมอ จึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย

5. การแฮ็ก (Hack) หรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพหรือคลิปวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ต และลบลายน้ำดิจิตอลออก และปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวีดิทัศน์และโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรามีความผิดอย่างไร และมีโทษเท่าใด

            การแฮ็ก (Hack) หรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีและหากทำการลบลายน้ำดิจิตอลออกโดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้นอาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวกหรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ ส่วนการปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวีดิทัศน์ของผู้อื่นและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชนโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ปรับ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท เพื่อการค้า 100.000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

            โทษฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี ปรับ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท เพื่อการค้า ปรับ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. การสำเนา ภาพหรือบทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ในลักษณะอย่างไรจึงจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ และอย่างไรจึงไม่ต้องขออนุญาต

            กรณีที่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น การนำภาพหรือบทความนั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์ กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องเป็นการใช้ในปริมาณพอสมควร เช่นนำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางานซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไรใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ใช้ในการติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นใช้ในการเสนอข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น และใช้ใน การเรียนการสอน

 

7. การสร้างบล็อกแล้วเอ็มเบด (embed) วีดิทัศน์ของยูทูป (Youtube) มาไว้ที่บล็อกของเรา  ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

            การทำบล็อกแล้วเอ็มเบด วีดิทัศน์ของยูทูป มาไว้ที่บล็อกของเราถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ในบล็อกและถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

            ในกรณีของการแชร์ลิงก์ (link) เพื่อแนะนำและบอกที่มาของเว็บไซต์ ก็อาจไม่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์

8. หากซื้อซีดีเพลง หนังสือ หรือรูปภาพมาอย่างถูกต้องเมื่อใช้แล้วจะนำออกขายต่อได้หรือไม่ กรณีซื้อโดยดาวน์โหลดชอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เพลงจากเว็บไซต์ จะขายต่อได้หรือไม่

            การซื้อซีดีเพลงหรือรูปภาพ ผู้ซื้อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแผ่นซีดีหรือรูปภาพนั้น จึงสามารถนำออกขายต่อได้แต่ผู้ซื้อไม่สามารถทำสำเนางานเพื่อนำออกขายได้ เนื่องจากสิทธิ์ในการทำซ้ำและการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ สำหรับกรณีการซื้อมาโดยวิธีการดาวน์โหลดนั้น เป็นูการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) ดังนั้น ไม่สามารถนำไฟล์งานดังกล่าวออกขายต่อได้

9. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs) เช่น True DTAC AIS CSLoxinfo จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่

            หากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอัพโหลดหนังหรือเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (ISPs) ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์หากให้ความร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการนำงานละเมิดออกจากเว็บไซต์ตามคำสั่งศาล

10. จะทำอย่างไรเมื่อมีคนนำงานลิขสิทธิ์ของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

            เมื่อพบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เจ้าของลิขสิทธิ์อาจแจ้งเตือนให้ผู้กระทำละเมิดหยุดการกระทำดังกล่าว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล หรืออาจขอให้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยใช้บริการไกล่เกลี่ยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือศาล

            อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวสรุปว่า จากกรณีข้อสงสัยที่เกิดขึ้น ถือเป็นข้อดีที่ทำให้คนไทยมีความตื่นตัวในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีจิตสำนึกว่างานที่จะนำไปใช้มีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และมีการคิดก่อนแชร์ คิดก่อนใช้ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาขอแนะนำว่าถ้าไม่ชัวร์ ไม่แชร์จะดีกว่า

             บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/   

*ที่มา : สรุปประเด็นจากพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 *ยกเว้น ข้อ 5, ข้อ 8 และข้อ 9 จาก พ.ร.บ.ลิชสิทธิ์ พ.ศ. 2558 (มีผลบังคับใช้ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558)

บรรณานุกรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สืบคั้นเมื่อ 7 กันยายน 2558, จาก https://www.ipthailand.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1636:10&catid=8:news&ultemid=332

  1. ข่าวประชาสัมพันธ์
  2. ข่าวกิจกรรม

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:50

โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ กำหนดการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 22-23 มีนาคม พ.ศ.2566 ขอให้นักเรียนทบทวนหนังสือเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสอบในปีการศึกษานี้นะครับ

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:50

โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ กำหนดการปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 ถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566

วันเสาร์, 11 มีนาคม 2566 23:27

วันที่ 3 มีนาคม 2566 โรงเรียนวัดโพสพผลเจริญ ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้กับคณะครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กปท.กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคูคตโดยได้รับเกียรติจาก รองปลัดเทศบาล นางกรณ์ญรัศมิ์ วรรณสังข์ เป็นประธานในการเปิดงาน และได้รับความอนุเคราะห์ คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลลำลูกกา

นายเอกลักษณ์  อ่อนสำลี

ครูประจำวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(วิทยาการคำนวณ)

วิทยาการคำนวณ (ประถมต้น)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (ประถมต้น)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

วิทยาการคำนวณ (มัธยมต้น)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (มัธยมต้น)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

ตรวจสอบคะแนน

กดที่นี่เพื่อตรวจสอบผลการเรียน / ภาระงาน

วิทยาการคำนวณ (ประถมปลาย)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (ประถมปลาย)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

วิทยาการคำนวณ (มัธยมปลาย)

ห้องเรียนวิทยาการคำนวณ (มัธยมปลาย)

คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ห้องเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ห้องกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

คลิกที่นี่เพื่อให้สู่ห้องกิจกรรม

กลุ่มงานอบรม

ห้องรวมกลุ่ม งานอบรม/ประชุม ฯลฯ

คลิกที่นี่เพื่อเข้าห้องงานอบรม/ประชุม

ห้องพักครู

ห้องพักครู : รวบรวมงาน / โครงการ / กิจกรรม

คลิกที่นี่เข้าห้องพักครู

ตารางงานกิจกรรม

ตารางงาน/กิจกรรม/ประชุม/อบรม

รายละเอียด

||    ABOUT COMPUTATIONAL SCIENCE   ||

วิทยาการคำนวณ

CodingThailand by GritConnect

การเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์

ทำไมต้องเรียน?

วิทยาการคำนวณ

ทักษะการสื่อสาร

การทำงานร่วมกับผู้อื่น

ทักษะการแก้ไขปัญหา

ความคิดสร้างสรรค์

 

วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy)

แหล่งเรียนรู้วิทยาการคำนวณ

||   แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน   ||

แหล่งเรียนรู้ของนักเรียน

เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

ข้อมูล แหล่งเรียนรู้ ข่าวสาร

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:33

 

ในวัยเด็กหลาย ๆ คนคงมีความสุขสนุกสนานกับการได้เล่นของนานาชนิด หลายชิ้นก็เล่นจนติด เล่นได้ทั้งวัน ของเล่นยอดฮิตตลอดกาลของเด็กชายชิ้นหนึ่งคือ รถบังคับแบบใช้สาย กดดินหน้า กดถอยหลัง กดให้วิ่งไปทางซ้าย ไปทางขวา แค่เห็นรถวิ่งไปมาได้ก็มีความสุขสนุกสนานแล้ว ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าเล่นแล้วจะได้อะไร แค่สนุกก็พอแล้ว

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:23

 กรมทรัพย์สินทางปัญญาไขข้อข้องใจกฎหมายลิสิทธิ์ เปิดคำถาม คำตอบ 10 ข้ออะไรทำได้ ะไรทำไมได้ หวังสกัดความปั่นป่วนในโลกโซเชียล หลังทั้งโพสต์ทั้งแชร์กระหน่ำ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยเป็นโอกาสดีที่ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจในเรื่องลิขสิทธิ์

วันอาทิตย์, 12 มีนาคม 2566 09:13

 ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

||   ให้ครูช่วยอะไรไหม !?  ||

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งให้ครูทราบ